ช่วงที่ผ่านมา บางพื้นที่ของกรุงเทพฯ รวมทั้งจังหวัดนนทบุรี ได้รับผลกระทบจากน้ำประปาที่มีรสชาติเค็มมากกว่าปกติจนรับรู้ได้ เราสงสัยไหมคะว่า ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง น้ำประปาเค็มสามารถนำมาบริโภคได้หรือไม่ และคนกลุ่มไหนควรจะต้องระวัง  วันนี้เรามีเกร็ดความรู้มาฝากค่ะ!

🌊ความเค็มจากน้ำประปาเกิดจากน้ำทะเลหนุนสูงส่งผลกระทบให้น้ำดิบมีความเค็ม ทำให้น้ำประปามีเกลือ หรือโซเดียมคลอไรด์มากขึ้น 💧ซึ่งโดยทั่วไปแนะนำให้คนปกติบริโภคเกลือไม่เกิน 6 กรัม/วัน หรือ 1 ช้อนชา แต่หากกินมากจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ บางคนจะเอาน้ำประปามาต้ม หรือกรองก่อนดื่ม ซึ่งกระบวนการนี้ไม่สามารถกำจัดเกลือออกจากน้ำประปาได้ ดังนั้น การดื่มน้ำประปาถึงจะนำมาต้ม หรือกรองแล้ว แต่ก็ทำให้ร่างกายเราได้รับโซเดียมคลอไรด์ที่มากกว่าปกตินั่นเองค่ะ🟠

👨‍👨‍👧‍👧คนกลุ่มไหนที่ต้องระวังการดื่มน้ำประปา?

👉กลุ่มคนที่ไม่มีโรคประจำตัว ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติ เนื่องจากไตสามารถขับโซเดียม และคลอไรด์ส่วนเกินออกจากร่างกายได้ เนื่องจากเกลือจากน้ำประปาเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับอาหารที่เราทานค่ะ

👉กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว กลุ่มนี้ต้องจำกัดการทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ได้แก่

🩸 โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจมีคามดันสูงขึ้นและควบคุมความดันได้ยาก

🧂โรคไต และโรคหัวใจ💗 อาจมีภาวะน้ำเกิน หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้

✅ แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวดื่มน้ำบรรจุขวด น้ำประปาที่ผ่านระบบ RO หรือตู้กดน้ำดื่ม RO ที่มีให้บริการในบางพื้นที่แทน จะปลอดภัยมากกว่าการดื่มน้ำประปาที่ผ่านการกรองหรือต้มนะคะ

 

อ้างอิงข้อมูล: โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

อ้างอิงภาพ: สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ

สอบถามข้อมูลด้านอาหาร และสุขภาพได้ที่  : ธัญชนก ศรีน้อยเมือง (นักโภชนาการ)

Line: cha_nok